วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ครูมัธยมนอกกะลาประชุมร่วมกับครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง(2)



คอมพิวเตอร์
อยากเริ่มจาก การประกอบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แบบยังไม่มีอะไรเลย
- เผชิญปัญหา ให้วงจรมีปัญหา
- บิลเกรต : มองว่าหลายๆ อย่างใหม่ๆ เกิดมาจากปัญหา
 เริ่มจากการเรียนรู้ : กระบวนการมุ่งสู่เป้าหมาย 
*เราไม่ได้เน้นการสอน แต่เราจะเน้นที่การเรียนรู้
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- การเรียนรู้ร่วมกัน
* เริ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

ทักษะชีวิต
อาหาร : (ผู้ผลิต(มวลใหญ่) - แปรรูป(ปรับปรุงพันธ์) - จัดจำหน่าย)
เครื่องนุ่งห่ม : (ตัดเย็บ – ออกแบบ – จำหน่าย(เป็นเจ้าของ) – PR)
ที่อยู่อาศัย : (ออกแบบ – สร้าง)
สุขภาวะ : (ดูแลสุขภาพ กาย ใจ สภาพแวดล้อม กินอยู่ เครียด มนุษยสัมพันธ์ แก้ปัญหา จัดการความเครียด รู้จักตนเอง สื่อสาร พฤติกรรม บุคลิกภาพ)
*เราต้องกล้ารับผิดชอบ กล้าหาญที่จะทำด้วย

ทักษะอนาคต
คิด(+) /
การจัดการ /
การสื่อสาร /
ICT
Creative /
(/ หมายถึง ได้นำเข้าสู่ทุกๆ กิจกรรม)
ให้ทำควบคู่ไปกับ สมุด Note Creative ออกแบบ

 ออกแบบสมุด Creative
- เก็บสะสมงาน ดูความก้าวหน้า*เรากล้าไหม? ครูจะไม่สอน แม้แต่อย่างเดียว

 ตัวชี้วัด
- สิทธิบัตร
- ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด

ครู คือ ผู้อำนวยการการเรียนรู้
*สิ่งไหนที่สำคัญและคิดว่าเหมาะกับบริบทของผู้เรียน ให้สอนเขา

ขั้นตอนการเกิดชิ้นงาน
- เสนอ (ความสำคัญ – ใครได้ประโยชน์ - ใครได้ประโยชน์ - เป้าหมาย)
- ทำ (ปัญหาที่ยากว่า – เกิดสิ่งใหม่ - มีความแตกต่าง )
* ผู้เชี่ยวชาญ จะดูแลเป็นที่ปรึกษา


ประชุม..ณ ห้องพักคุณเจมส์ คลากส์
พี่อาตง ครูอ้อน ครูณี ครูท็อป ครูนุ่ม และครูป้อม 
18-19/04/54

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ครูมัธยมนอกกะลาประชุมร่วมกับครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง(1)

ทำไมต้องเรียนรู้อย่างเข้าใจ เพื่อการเปลี่ยนแปลง 
จะได้มองเห็นองค์รวม มีเหตุผล รู้สึกยินดีและพอใจ..
 

 ลักษณะที่แสดงออกว่าเข้าใจ..
 
- การอธิบายได้อย่างลึกซึ้ง แตกฉาน สามารถปฏิบัติได้
สามารถแปลความหมาย แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตจริง
การนำมาประยุกต์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้

กระบวนการเรียนรู้แบบ 
Problem-based learning (PBL) 
 
   การเรียนรู้จากการใช้ปัญหาเป็นหลัก / การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยนักเรียนระบุปัญหาที่เกิดขึ้นเอง แล้วเลือกวิธีการและสาระในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

วิธีการเรียนรู้..
 

1. การเผชิญปัญหา
  • สภาพจริง ( ทีกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องเผชิญในอนาคต)
  • สถานการณ์จำลอง (ใส่ข้อมูล คำถามปลายเปิด )
2. สร้างหนทางการเรียนรู้ 
     Project : ระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ ทดลอง / ทดสอบ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลที่เกิด ทำให้นักเรียน มองเห็นองค์รวม มีเหตุผล รู้สึกยินดีและพอใจที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง ( ภายใน : ความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ , ภายนอก : บุคลิกลักษณะ ท่าทางพฤติกรรมการแสดงออก )

จุดเด่นของการสอนแบบ (PBL)..
    มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา ทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทางวิชาชีพ มีการรวบรวมคัดเลือกเนื้อหาสำคัญที่เป็นหลัก ช่วยลดจำนวนเนื้อหาที่ต้องเรียนมากมายโดยไม่จำเป็น
   เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะใช้ปัญหามากระตุ้นซึ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนการท่องจำ เพราะต้องประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา
   เป็นการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์(Constructivism )เพราะต้องใช้ความรู้เดิมที่มีมาคิดสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นเติมเสริมเข้ากับความรู้เดิมตลอดเวลา


วิถีปฏิบัติในระดับมัธยมฯ (ม.1)..
 
 กิจกรรมฅนบันดาลใจ (อ่านวรรณกรรม ดูหนัง รายการฅนค้นคน การไปอยู่กับบุคคลอื่น )
Concept : 
  • ค้นพบความถนัดและความสนใจของตนเอง
  • สร้างแรงบันดาลใจในวิถีทางที่ดีงาม
  • เครื่องขัดเกลาอารมณ์ เกิดสุนทรียะ
  • เข้าใจวิถีชีวิต ความคิดและจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน
 กิจกรรมพิธีกรรม ( พิธีชา การจัดดอกไม้ การรับประทานอาหาร ) 
Concept :
การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน
เสริมสร้างบุคลิกภาพ มารยาท
เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง
 
 จิตศึกษา 
Concept : 
   เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ รู้คุณค่าของสรรพสิ่ง การนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน

ประชุม..
ณ ห้องเรียนชั้น ป.6
ครูณี ครูท็อป และครูป้อม 
05/04/54

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงานตัว/ปฐมนิเทศ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554

   นักเรียนและผู้ปกครอง มาถึงโรงเรียนอย่างพร้อมเพรียงกันในเวลา 08:30 น. ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

ประเด็นหลักในวันรายงานตัวและปฐมนิเทศ
- รายงานตัวนักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่ในระดับมัธยมศึกษา
- วัดขนาดตัวนักเรียนและสั่งจองเสื้อก่อนวันเปิดเรียนในปีการศึกษาหน้า(ครูอุ๊ , ครูกลอย และพี่ใจกับพี่ติ้ง)
- ประชุมผู้ปกครองทั้ง 19 คน ชี้แจ้งแนวทางโรงเรียนฯ ในระดับมัธยม(ครูชาญ,ครูณี)
- สำรวจอาคาร สถานที่ ความคืบหน้าในงานก่อสร้างร่วมกัน(ครูณี,ครูป้อม)

เล่าลำดับกิจกรรมผ่านภาพนิ่ง..
  
 
 ผู้ปกครองลงทะเบียนรายงานตัวนักเรียนระดับมัธยมศึกษา..

 
 นักเรียนมาพร้อมกับผู้ปกครอง ใส่ชุดนักเรียนมาอย่างน่ารักทุกคน
พี่จ๋อม ตั้งใจวาดภาพมาให้เพื่อนๆ อีก 11 คนที่ไม่ได้เรียนต่อด้วยกัน..

 
 
 วัดขนาดเสิ้อให้นักเรียน ปีการศึกาา 2554

 
 ระดมความคิดผู้ปกครองมัธยมนอกกะลา..


ผู้ปกครองและคุณครู เดินตรวจดูความคืบหน้าของอาคารเรียนในระดับมัธยม..

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ชุดนักเรียนมัธยมนอกกะลา

ครูณีและครูแป้ง
ร่วมกันคิดและออกแบบ




มัธยมนอกกะลา โดยลำปลายมาศพัฒนา..

ต้นเดือนกุมภาพันธ์'54 ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง
โพสข้อความลงใน facebook.com ไว้..

แบบอาคารเรียนจริง "มัธยมนอกกะลา"

    ด้วยกรอบความคิดของการศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งและการคัดกรองด้านวิชาการทำให้มีเด็กเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถเรียนต่อไปในระดับสูงขึ้นได้ โอกาสนั้นแคบลง เด็กอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการถูกทิ้งระหว่างทางทั้งที่พวกเธอเหล่านั้นต่างก็มีศักยภาพด้านอื่นๆ ที่รอการงอกงาม อีกทั้งพวกเธอเหล่านั้นยังสุ่มเสี่ยงที่จะจมหายไปกับกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมที่ไหลแรงขึ้นทุกทีถ้าการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับความแข็งแกร่งด้านใน..
     มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนาจึงมีแนวคิดที่จะก่อตั้งโรงเรียนนอกกะลาระดับมัธยมศึกษาขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่จะจัดการศึกษาโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง อันจะเป็นที่ที่มนุษย์ได้สร้างการเรียนรู้สำหรับมนุษย์ ซึ่งจะมีครู พ่อแม่ และชุมชน ร่วมมือกันในการเกื้อหนุนให้เด็กทุกๆ คนได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและงอกงามได้ตามศักยภาพตามความถนัดและตามความปรารถนาของตน ให้ความสำคัญกับการร่วมมือกัน ไม่เน้นการแข่งขัน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และความงอกงามด้านจิตวิญญาณเพื่อให้มีความแข็งแกร่งด้านในซึ่งจะเป็นรากฐานให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า เด็กๆ จะได้เรียนรู้ทักษะและวิถีพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เช่น การดูแลสุขภาพกายและใจ การดูแลสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทักษะชีวิต การเป็นผู้ผลิตอาหารและปัจจัยการดำรงชีวิต ฯลฯ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในท้องถิ่นอย่างมีความสุข..

แบบจำลองอาคารเรียน
เป็นแบบเรือนไทยอีสาน "มัธยมนอกกะลา"
 
 

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชุมเตรียมความพร้อม ก่อนเปิดระดับมัธยมศึกษา

ประชุมวันที่ 24/02/54
ณ ห้องประชุมสำนักงานครู

สรุปประเด็นสำคัญในการประชุม 
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ระดับมัธยมศึกษา

"อยากเห็นเด็ก ม.3 ที่เรียนจบกับเราไปแล้วเป็นอย่างไร"
- รับผิดชอบต่อสังคม
- พบสิ่งที่ตัวเองสนใจ พบความถนัด
- พัฒนาความสามารถเฉพาะ
- ทักษะการใช้ชีวิต
- อุตสาหะ มานะ บากบั่น
- เห็นคุณค่าตนเองและสรรพสิ่ง
- อดทน ร่างกาย
- วิจารณญาณ
- ผู้นำ
- ทักษะ ICT
- รู้ กาละเทศะ
- รักการอ่าน
- ดำเนินวิถีความสุข
- ทักษะทางวิชาชีพ
- มีวินัย
- วุฒิภาวะ


"การนำความรู้นั้นไปปรับใช้ในการใช้ต่อวิถีการดำเนินชีวิต"
ปลา - แห -- วิธีสร้างเครื่องมือคิด
* กระบวนการแสวงหาความรู้ จัดการความรู้
* เครื่องมือคิด

********************************************************************
ตอบคำถามการจัดเตรียมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2554

อาคารและสิ่งที่ปลูกสร้าง
- อาคารเรียนชั่วคราวก่อนเปิดเรียนจะใช้ห้องไหน(บ้านดิน)
- โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน จะใช้รูปแบบใด(รอ..ครูอ้อนออกแบบมานำเสนอ)
- นักเรียนมัธยมฯทานข้าวร่วมกับน้องประถมฯหรือไม่ และจะมีการแยกการจัดการบริหารอย่างไร เช่น แม่ครัว โรงอาหาร(ให้เป็นพิธีกรรม / สติ / เบี่ยงพลัง)
- สนามกีฬาเด็กมัธยมฯอยู่ตรงไหน(สนานเดิม ปรับเปลี่ยนรูปแบบ)
- ระบบน้ำที่ใช้ในระดับมัธยม มีการเตรียมการอย่างไร(ระบบเดิม แต่อาจจะเพิ่มถังเก็บน้ำ)
- ลานจอดรถจะมีการจัดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า(บริเวณที่สร้างขึ้นใหม่ ข้างสนามบาส)
- ห้องโสตฯ ห้องดูหนังจะสร้างรูปแบบใด(ใช้ห้องดนตรีเก่า/ซื้อ TV จอแบบมาไว้ดู)
- ห้องดนตรีจะจัดไว้ที่ไหน(ครูต้องเปลี่ยนรูปแบบมาสอน เน้นการละครในช่วง 2 เดือน แรกของมัธยม)
- ห้องสมุดจะจัดแยกจากของประถมฯหรือไม่(ไม่แยก แต่มัธยมจะมีส่วนที่เก็บหนังสือที่จำเป็นไว้)
- ห้องคอมฯ การวางระบบเครือข่ายคอมเป็นอย่างไร(นักเรียนจะต้องได้เรียนรู้เริ่มจากพื้นฐานหลัก ของคอมพิวเตอร์)
- การสร้างบรรยากาศและทัศนียภาพบริเวณโดยรอบอาคารมัธยมเป็นอย่างไร(ต้องสวยกว่าแปลนที่ออกแบบวาดไว้) 

ระบบการเรียนการสอน
- การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้จะเป็นในรูปแบบใดและจะใช้การสอนแบบบูรณาการอย่างไร(ประชุมครั้งหน้า ครูณี ครูป้อม ออกแบบ Model มานำเสนอที่ประชุม)
- เด็กๆจะเรียนกีฬาประเภทไหนที่จะสอดคล้องกับการใช้พลังงานอย่างมาก ให้ได้ปลดปล่อยต้องมีครูกีฬาเฉพาะหรือไม่(เรียนกีฬาตามหลักสูตรวางไว้)


สิ่งที่ต้องจัดเตรียมอื่นๆเพิ่มเติม
- การจัดซื้อสื่อ อุปกรณ์การเรียน การเกษตร งานฝีมือ การทดลอง ในรูปแบบของ Mobile (คิดออกแบบ ตอนเหตุการณ์มาถึง)
- ชุดนักเรียนจะเป็นรูปแบบไหนและชุดพละเป็นอย่างไร(รูปแบบคล้ายๆ เดิม)
- ข้อตกลงวิถีชีวิตของนักเรียนในระดับมัธยมฯเป็นอย่างไร(ข้อตกลงเดิม สร้างความเข้าใจให้เขาเห็นมากขึ้น)
- ชุดพละเป็นอย่างไร(ชุดเดิม)
- ค่าอาหารของนักเรียนมัธยมต้องจ่ายมากกว่าหรือเท่ากับระดับประถมฯ(เท่าเดิม)