วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมอาสาสร้างสุข

ผลงานการสรุปกิจกรรมอาสาสร้างสุขของพี่ๆ ชั้น ม.1 
ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ในช่วงปิด Quarter1/2554





วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พิธีชา ม.1

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1
ร่วมกันทำกิจกรรมพิธีชาครั้งแรก
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2554


กิจกรรมพิธีชา..
- การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน นอบน้อม เชื่อมโยง การได้ชื่นชมความงาม
- เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง..

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จิตศึกษา ม.1

จิตศึกษาของพี่ๆ ม.1 เปิดเรียนวันแรก..
วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2554


กิจกรรมจิตศึกษา..
- เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ ความฉลาดด้านอารมณ์ ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก 
- การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปฐมนิเทศผู้ปกครอง '54 (งอกนอกกะลา)

นิยามการเรียนรู้โรงเรียนนอกกะลา 


'การเรียนรู้เป็นกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น สูงขึ้น อย่างเป็นองค์รวม ทั้งองค์กร ภายในคนคนหนึ่งและองค์รวมที่เชื่อมสัมพันธ์อยู่ในระบบใหญ่'



งอกนอกกะลา..





วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ภาพนักเรียนเปิดเรียนวันแรก ม.1

    เปิดเรียนวันแรกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ 
ยิ้มแย้ม แจ่มใส ถ่ายรูปติดบอร์ดหน้าชั้นเรียน..

เด็กหญิงณัชฐนิชา เพียขันทา(จ๋อม)

เด็กชายชัยวัฒน์ แสนลาด(ฟรองค์)

เด็กหญิงอาทิตยา เพชรตะกั่ว(กระเต็น)


เด็กชายชนาวุฒิ ภูอาจดั้น(เอริ์ธ)
 
เด็กหญิงสุทธิดา ทุมตา(นุ๊ก)

เด็กหญิงเสาวภา คชเถื่อน(มิ้นท์)

เด็กชายวิศรุต อ่อนนวล(เก่ง)

เด็กหญิงชมพูนุช ปาปะขัง(น้ำ)

เด็กหญิงณัฐชานันท์ วิชาฮาด(ออม)

เด็กชายภูมินาวัตน์ ภัตติยะวานิช(ปอง)

เด็กชายขจรพงศ์ ศรีอินทร์(เบส)

เด็กหญิงธัญญชนก โสรี(รัก)

เด็กชายทีปกร ซอนรัมย์(ช้าง)

เด็กชายมงคลชัย บ่อไทย(แทน)

เด็กชายอนันต์ อัมรานนท์(ลาร์ค)

เด็กชายณัฐภัทร เรืองบุญ(เจมส์)

เด็กชายธนภพ บุญเรือง(อั๋น)

เด็กชายชานน เกษมสุข(โจ๊กเกอร์)

เด็กชายวินัย สวาทนา(ปาล์ม)
 
ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน..



วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ครูมัธยมนอกกะลาประชุมร่วมกับครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง(2)



คอมพิวเตอร์
อยากเริ่มจาก การประกอบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แบบยังไม่มีอะไรเลย
- เผชิญปัญหา ให้วงจรมีปัญหา
- บิลเกรต : มองว่าหลายๆ อย่างใหม่ๆ เกิดมาจากปัญหา
 เริ่มจากการเรียนรู้ : กระบวนการมุ่งสู่เป้าหมาย 
*เราไม่ได้เน้นการสอน แต่เราจะเน้นที่การเรียนรู้
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- การเรียนรู้ร่วมกัน
* เริ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

ทักษะชีวิต
อาหาร : (ผู้ผลิต(มวลใหญ่) - แปรรูป(ปรับปรุงพันธ์) - จัดจำหน่าย)
เครื่องนุ่งห่ม : (ตัดเย็บ – ออกแบบ – จำหน่าย(เป็นเจ้าของ) – PR)
ที่อยู่อาศัย : (ออกแบบ – สร้าง)
สุขภาวะ : (ดูแลสุขภาพ กาย ใจ สภาพแวดล้อม กินอยู่ เครียด มนุษยสัมพันธ์ แก้ปัญหา จัดการความเครียด รู้จักตนเอง สื่อสาร พฤติกรรม บุคลิกภาพ)
*เราต้องกล้ารับผิดชอบ กล้าหาญที่จะทำด้วย

ทักษะอนาคต
คิด(+) /
การจัดการ /
การสื่อสาร /
ICT
Creative /
(/ หมายถึง ได้นำเข้าสู่ทุกๆ กิจกรรม)
ให้ทำควบคู่ไปกับ สมุด Note Creative ออกแบบ

 ออกแบบสมุด Creative
- เก็บสะสมงาน ดูความก้าวหน้า*เรากล้าไหม? ครูจะไม่สอน แม้แต่อย่างเดียว

 ตัวชี้วัด
- สิทธิบัตร
- ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด

ครู คือ ผู้อำนวยการการเรียนรู้
*สิ่งไหนที่สำคัญและคิดว่าเหมาะกับบริบทของผู้เรียน ให้สอนเขา

ขั้นตอนการเกิดชิ้นงาน
- เสนอ (ความสำคัญ – ใครได้ประโยชน์ - ใครได้ประโยชน์ - เป้าหมาย)
- ทำ (ปัญหาที่ยากว่า – เกิดสิ่งใหม่ - มีความแตกต่าง )
* ผู้เชี่ยวชาญ จะดูแลเป็นที่ปรึกษา


ประชุม..ณ ห้องพักคุณเจมส์ คลากส์
พี่อาตง ครูอ้อน ครูณี ครูท็อป ครูนุ่ม และครูป้อม 
18-19/04/54

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ครูมัธยมนอกกะลาประชุมร่วมกับครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง(1)

ทำไมต้องเรียนรู้อย่างเข้าใจ เพื่อการเปลี่ยนแปลง 
จะได้มองเห็นองค์รวม มีเหตุผล รู้สึกยินดีและพอใจ..
 

 ลักษณะที่แสดงออกว่าเข้าใจ..
 
- การอธิบายได้อย่างลึกซึ้ง แตกฉาน สามารถปฏิบัติได้
สามารถแปลความหมาย แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงเข้าสู่ชีวิตจริง
การนำมาประยุกต์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้

กระบวนการเรียนรู้แบบ 
Problem-based learning (PBL) 
 
   การเรียนรู้จากการใช้ปัญหาเป็นหลัก / การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยนักเรียนระบุปัญหาที่เกิดขึ้นเอง แล้วเลือกวิธีการและสาระในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

วิธีการเรียนรู้..
 

1. การเผชิญปัญหา
  • สภาพจริง ( ทีกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องเผชิญในอนาคต)
  • สถานการณ์จำลอง (ใส่ข้อมูล คำถามปลายเปิด )
2. สร้างหนทางการเรียนรู้ 
     Project : ระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ ทดลอง / ทดสอบ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลที่เกิด ทำให้นักเรียน มองเห็นองค์รวม มีเหตุผล รู้สึกยินดีและพอใจที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง ( ภายใน : ความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ , ภายนอก : บุคลิกลักษณะ ท่าทางพฤติกรรมการแสดงออก )

จุดเด่นของการสอนแบบ (PBL)..
    มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา ทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงทางวิชาชีพ มีการรวบรวมคัดเลือกเนื้อหาสำคัญที่เป็นหลัก ช่วยลดจำนวนเนื้อหาที่ต้องเรียนมากมายโดยไม่จำเป็น
   เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะใช้ปัญหามากระตุ้นซึ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนการท่องจำ เพราะต้องประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา
   เป็นการเรียนรู้แบบความคิดสร้างสรรค์(Constructivism )เพราะต้องใช้ความรู้เดิมที่มีมาคิดสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นเติมเสริมเข้ากับความรู้เดิมตลอดเวลา


วิถีปฏิบัติในระดับมัธยมฯ (ม.1)..
 
 กิจกรรมฅนบันดาลใจ (อ่านวรรณกรรม ดูหนัง รายการฅนค้นคน การไปอยู่กับบุคคลอื่น )
Concept : 
  • ค้นพบความถนัดและความสนใจของตนเอง
  • สร้างแรงบันดาลใจในวิถีทางที่ดีงาม
  • เครื่องขัดเกลาอารมณ์ เกิดสุนทรียะ
  • เข้าใจวิถีชีวิต ความคิดและจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน
 กิจกรรมพิธีกรรม ( พิธีชา การจัดดอกไม้ การรับประทานอาหาร ) 
Concept :
การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ อยู่กับปัจจุบัน
เสริมสร้างบุคลิกภาพ มารยาท
เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง
 
 จิตศึกษา 
Concept : 
   เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ รู้คุณค่าของสรรพสิ่ง การนำสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สำนึก การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ำ และมีความพร้อมในการเรียน

ประชุม..
ณ ห้องเรียนชั้น ป.6
ครูณี ครูท็อป และครูป้อม 
05/04/54

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงานตัว/ปฐมนิเทศ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554

   นักเรียนและผู้ปกครอง มาถึงโรงเรียนอย่างพร้อมเพรียงกันในเวลา 08:30 น. ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

ประเด็นหลักในวันรายงานตัวและปฐมนิเทศ
- รายงานตัวนักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่ในระดับมัธยมศึกษา
- วัดขนาดตัวนักเรียนและสั่งจองเสื้อก่อนวันเปิดเรียนในปีการศึกษาหน้า(ครูอุ๊ , ครูกลอย และพี่ใจกับพี่ติ้ง)
- ประชุมผู้ปกครองทั้ง 19 คน ชี้แจ้งแนวทางโรงเรียนฯ ในระดับมัธยม(ครูชาญ,ครูณี)
- สำรวจอาคาร สถานที่ ความคืบหน้าในงานก่อสร้างร่วมกัน(ครูณี,ครูป้อม)

เล่าลำดับกิจกรรมผ่านภาพนิ่ง..
  
 
 ผู้ปกครองลงทะเบียนรายงานตัวนักเรียนระดับมัธยมศึกษา..

 
 นักเรียนมาพร้อมกับผู้ปกครอง ใส่ชุดนักเรียนมาอย่างน่ารักทุกคน
พี่จ๋อม ตั้งใจวาดภาพมาให้เพื่อนๆ อีก 11 คนที่ไม่ได้เรียนต่อด้วยกัน..

 
 
 วัดขนาดเสิ้อให้นักเรียน ปีการศึกาา 2554

 
 ระดมความคิดผู้ปกครองมัธยมนอกกะลา..


ผู้ปกครองและคุณครู เดินตรวจดูความคืบหน้าของอาคารเรียนในระดับมัธยม..